วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550

สำนักงานสถิติแห่งชาติ
1.แนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี 2548

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
2. แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ
แหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่
งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8)

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
สำนักงานสถิติแห่งชาติ

3. พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ)
ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น