วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
1.แนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
2. แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ
แหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่
งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8)

แผนภูมิร้อยละของผู้สูงอายุ จำแนกตามแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิต เพศและเขตที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2550
การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
3. พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ)
ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)



แผนภูมิ ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จำแนกตามเพศและเขตที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2550





เรื่องสถานะการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2550 สูงถึงประมาณร้อยละ 10.7 ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลประชากรสูงอายุที่เที่ยงตรงและเป็นปัจจุบันในการดำเนินการสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เร่งดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดจะทำการสำรวจในปี 2551 ได้เลื่อนขึ้นมาทำการ
สำรวจในปี 2550 เพื่อจะนำผลการสำรวจไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 –2564)นับเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ถูกนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การยกระดับ
ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยให้ดีขึ้น และส่งผลดีถึงสังคมไทยโดยรวมต่อไป
จากผลการสำรวจประชากรสูงอายุที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจครั้งล่าสุดปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 ในขณะที่ดัชนีผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนเกือบจะเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็กในปี 2550 นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลงเหลือ 6.3 ในปี 2550 ยังพบอีกว่า
ผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 7.7
ในปี 2550 จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้สังคมไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และ
การที่ประเทศไทยมีอัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ดัชนีผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการที่อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาวะเช่นนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้กล่าวคือผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานจะต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและดูแลผู้สูงอายุเพิ่ม
มากขึ้น จะมีผู้สูงอายุที่ถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น หากทุกภาคส่วนไม่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์นี้อย่างจริงจัง
ผู้สูงอายุคือบุคคลที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ ชูศักดิ์ เวชแพทย์ (2531 : 27) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตะวันออก (2543 : 8) ได้เสนอข้อมูล ขององค์การอนามัยโลก โดย อัลเฟรด เจ คาห์น (Professor Dr. Alfred J. Kahn) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีการแบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุที่เหมือนกัน คือ
1. ผู้สูงอายุ (Elderly) มีอายุระหว่าง 60 – 74 ปี
2. คนชรา (old) มีอายุระหว่าง 75 – 90 ปี
3. คนชรามาก (Very old) มีอายุ 90 ปีขึ้นไป
ยูริค และคนอื่นๆ (Yuriek and others . 1980 : 31) เสนอการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ตามสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Institute of Aging) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น (Young - Old) มีอายุ 60 – 74 ปี
2. กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย (Old - Old) มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก ( 2543 : 8)ได้เสนอข้อมูลการแบ่งช่วงอายุผู้สูงอายุของประเทศไทย ดังนี้
1. อายุตั้งแต่ 60–69 ปี
2. อายุตั้งแต่ 70–79 ปี
3. อายุ 80 ปีขึ้นไป
จากข้อมูลการจัดเกณฑ์ช่วงอายุของผู้สูงอายุที่นักวิชาการ องค์การ หน่วยงาน กำหนดไว้นั้น สรุปได้ว่าการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยกำหนดใช้การแบ่งช่วงอายุแบบของประเทศไทย ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 60 – 69 ปี
การเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงวัยในผู้สูงอายุ ได้มีผู้ศึกษาและอธิบายถึงสภาพของการเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของร่างกาย ทั้งนี้ วันเพ็ญ วงศ์จันทรา (2539 : 10) ได้เสนอสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลง 3 ประการใหญ่ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จำแนกออกตามระบบของร่างกายได้ ดังนี้
1.1 ระบบผิวหนัง ผิวหนังบางลง เพราะเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลง อัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง
1.2 ระบบประสาทและระบบสัมผัส เซลล์สมอง และเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวนและขนาดเส้นใยของเซลล์กล้ามเนื้อลดลง มีเนื้อเยื่อพังพืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น
1.3 ระบบการไหลเวียนโลหิต หลอดลม ปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง
1.4 ระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง เคลือบฟันเริ่มบางลง เซลล์สร้างฟันลดลง ฟันผุง่ายขึ้น ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีฟันเหลือต้องใส่ฟันปลอม ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย
1.5 ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ผู้สูงอายุมีขนาดของไตลดลง
การไหลเวียนโลหิตในไตลดลง ในเพศชาย ต่อมลูกหมากโตขึ้น ทำให้ปัสสาวะลำบาก ต้องถ่ายบ่อยลูกอัณฑะเหี่ยวเล็กลง และผลิตเชื้ออสุจิได้น้อยลง ส่วนในเพศหญิง รังไข่จะฝ่อเล็กลง ปีกมดลูกเหี่ยว มดลูกมีขนาดเล็กลง
1.6 ระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และทำงาน
ลดลง ผู้สูงอายุจะเกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว และการหยุดจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องประสบ ภาระหน้าที่ และบทบาทของผู้สูงอายุจะลดลง มีข้อจำกัดทางร่างกาย ทำให้ความคล่องตัวในการคิด การกระทำ การสื่อสาร สัมพันธภาพทางสังคมมีขอบเขตจำกัด ความห่างเหินจากสังคมมีมากขึ้น ความมีเหตุผล และการคิดเป็นไปในทางลบเพราะ สังคมมักจะประเมินว่า ความสามารถในการปฏิบัติลดลง ถึงแม้ว่าจะมีผู้สูงอายุบางคนแสดงให้เห็นว่า ความมีอายุ มิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินบทบาท และหน้าที่ทางสังคมก็ตาม
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2541 : 37-38) ได้นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงวัยของผู้สูงอายุ ดังนี้
1. ด้านร่างกาย เซลล์ในร่างกายมนุษย์มีการเจริญและเสื่อมโทรมตลอดเวลา โดยในผู้สูงอายุมีอัตราการเสื่อมโทรมมากกว่าการเจริญ ทั้งนี้ การเสื่อมโทรมทางจิตจะทำให้มีความรู้สึกว่าโดดเดี่ยว อ้างว้าง
2. ระบบหายใจ เสื่อมสภาพลงเพราะ อวัยวะในการหายใจเข้า-ออกลดความสามารถในการขยายตัว ปอดเสียความยืดหยุ่น ถุงลมแลกเปลี่ยนแก๊สลดน้อยลง ปอดรับออกซิเจนได้น้อยลง
3. ระบบการไหลเวียนเลือด หัวใจ หลอดเลือด มีเนื้อเยื่ออื่นมาแทรกมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม มีปริมาณสูบฉีดลดลง หลอดเลือดแข็งตัว และ แรงดันเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดปริมาณ
4. สติปัญญาของผู้สูงอายุ สติปัญญาเริ่มเสื่อมถอย เชื่องช้า ต้องใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ทบทวนนานกว่าจะตัดสินใจได้ การตอบโต้ทางความคิดไม่ฉับพลันทันที แต่มีเหตุผล และประสบการณ์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดและตัดสินใจ แต่บางครั้งไม่กล้าตัดสินใจอะไร
5. การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆหรือเทคโนโลยีใหม่ของผู้สูงอายุเป็นไปได้ช้า ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าที่จะรู้ ปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำได้ แต่การเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม และความรู้เดิมที่มีอยู่จะสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว
6. พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
6.1 ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไรทำ อยู่ว่าง ๆ จะรำคาญ และคิดฟุ้งซ่านหรืออาจจะบ่นพึมพำ
6.2 บางช่วงจะหลง ๆ ลืม ๆ
6.3 สายตาไม่ดี อ่านหนังสือที่มีขนาดอักษรตัวเล็กเกินไม่ได้และอ่านได้ไม่นาน
6.4 ชอบอ่าน ฟัง ดูข่าว ความก้าวหน้าและความเป็นไปของบ้านเมืองมากกว่าบันเทิง หรือตำราวิชาการ
6.5 มีช่วงเวลาของความสนใจยาวนาน และมีสมาธิดี ถ้ามีความตั้งใจจะทำสิ่งใด
จากข้อมูลที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงวัยสูงอายุข้างต้น สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลง
วัยสูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุของผู้สูงอายุ ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทหน้าที่ และสัมพันธ์ภาพทางสังคมลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเกิดภาวะสุขภาพที่เจ็บป่วยของผู้สูงอายุ หากไม่มีวิธีป้องกัน และการจัดการภาวะสุขภาพที่เหมาะสม
ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
ภาวะสุขภาพสูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ทางชีวภาพ และทางสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป เมื่อสมาชิกของสังคมมีอายุมากขึ้น (สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. 2539 : 7)
ประเวศ วะสี (2543 : 4) ให้ความหมายของภาวะสุขภาพผู้สูงอายุว่า เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย หมายถึง ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่พิการ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัย ที่จำเป็นพอเพียง ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ คำว่า กาย ในที่นี้หมายถึง ทางภายภาพด้วย 2. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิต หมายถึง จิตใจที่มีความสุข รื่นเริง คล่องแคล่ว มีความเมตตาสัมผัสกับความงามของสรรพสิ่ง มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รวมถึงการลดความเห็นแก่ตัวลงไปด้วย เพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นแก่ตัว ก็จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตไม่ได้ 3. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรมเสมอภาค มีภราดรภาพ มีสันติภาพ มีระบบการบริการ ที่ดี มีความเป็นประชาสังคม 3. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ (Spirtual well-being) หมายถึง สุขภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อทำความดีหรือจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่งหรือสิ่งสูงสุด เช่น การเสียสละ การมีความเมตตา การเข้าถึงพระรัตนตรัยหรือการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น ความสุขทางจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ไม่ระคนอยู่กับความเห็นแก่ตัว แต่เป็นสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากความมีตัวตน (Self transcending) จึงมีอิสรภาพ มีความผ่อนคลาย เบาสบาย มีความปิติแผ่ซ่าน มีความสุขอันประณีตและล้ำลึกหรือความสุขอันเป็นทิพย์ มีผลดีต่อสุขภาพทางกาย ทางจิต และทางสังคม
ภาวะสุขภาพของบุคคลประกอบด้วย ภาวะที่มีสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วยสนับสนุนหรือต่อเนื่องกันไป และเป็นประสบการณ์ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับรู้ของบุคคลต่อภาวะสุขภาพนั้น จะดำเนินไปตามแกนความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วย แต่การรับรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลคือ บางคนรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งผิดปกติเล็กน้อยและไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลเหล่านี้ความเจ็บป่วย จึงเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการพัฒนา และการเจริญเติบโต ขณะที่บางคนมีการรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รบกวน และคุกคามต่อชีวิตอย่างมาก ทำให้สูญเสียความเป็นบุคคล ผลที่ตามมาคือ ความกลัว ความท้อแท้ การรับรู้ต่อภาวะสุขภาพของบุคคลที่แตกต่างกันนี้ มีอิทธิพลต่อกำลังใจในการต่อสู้ปัญหาที่เข้ามารบกวนชีวิตแตกต่างกันด้วย
ภาวะสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะพัฒนาการ โดยผู้สูงอายุจะประสบกับปัญหาสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้สูงอายุมีความรู้สึกสูญเสียอำนาจบทบาท และสถานะทางสังคม มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของร่างกาย นิยามสุขภาพจึงอาจเปลี่ยนไปตามปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ทั้งนี้ วิไลวรรณ ทองเจริญ (2539 : 119-122) กล่าวว่า ภาวะสุขภาพดีของผู้สูงอายุ หมายถึง การมีอิสระในการปฏิบัติกิจกรรมตามความต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจึงประกอบด้วย การมีกำลังทำในสิ่งที่ต้องการ พึ่งพาตนเองได้ในกิจวัตรประจำวัน และมองโลกในแง่ดี สามารถเผชิญกับความเป็นจริง และยอมรับในสิ่งที่ไม่สามารถกำจัดหรือแก้ไขได้ (ประคอง อินทรสมบัติ. 2539 :2-3)
กล่าวโดยสรุปว่า ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ หมายถึง สุขภาวะที่เป็นความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางเสื่อมของผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานของร่างกายเสื่อมถอยไปด้วย เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีปัญหากับสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ดังที่ สเปค (Speake. 1989 : 93 –100) ได้กล่าวว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 จะต้องมีปัญหาทางสุขภาพอย่างน้อย 1 อย่าง จากการศึกษาของ นภาพร ชโยวรรณ มาลินี วงษ์สิทธิ์ และ จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย (2532 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผู้สูงอายุทั่วประเทศ จำนวน 3,252 คนโดยให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพของตนเองพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพไม่ดีถึงร้อยละ 41 และโรคที่พบบ่อยเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะของการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนัก นอกจากนั้น สมหมาย ยาสมุทร และดาริณี สุวรรณรังสี (2532 : 71-79) ได้รวบรวมสถิติข้อมูลทั่วไป และโรคผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลลำปาง ในปีงบประมาณ 2524-2526 พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเป็นโรคข้อ กระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ และปวดหลัง ทำให้ผู้สูงอายุขาดความกระฉับกระเฉง และความสามารถในการทำงานลดลง มีผลให้กิจกรรมที่เคยทำลดน้อยลงไปด้วย จากการที่ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุลดลง บลูเทอร์ (Bulter. 1987 : 23-28) กล่าวถึง แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน (Activity of Daily Living) ว่า ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ ด้านหน้าที่ของร่างกายอย่างกว้างขวาง เพราะ หากผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ด้วยตนเอง จะมีความรู้สึกว่ามีสุขภาพดี และสิ่งชี้วัดเบื้องต้นของ ภาวะสุขภาพความผาสุกในผู้สูงอายุ คือ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ถือเป็นบริการสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับคนชราอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แม้จะดูเหมือนไม่มีบทบาทสักเท่าไหร่ในหลายยุคที่ผ่านมา แต่เวลานี้ได้ถูกชุบให้กระชุ่มกระชวยขึ้นอีกครั้งด้วยแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่แจกจ่ายนโยบายประชานิยมอย่างทั่วถึง ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ โดยแต่เดิมนั้นจะจ่ายให้เฉพาะผู้ที่มีฐานะยากไร้ รายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง
จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในสังคมไทยผู้จัดทำจึงเล็งเห็นปัญหาของผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ แหล่งรายได้ผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้นเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะจัดทำกราฟแสดงสัดส่วนของผู้สูงอายุเพื่อให้ทราบสถิติของผู้สูงอายุและเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

นิยามศัพท์
ผู้สูงอายุ คือ คนที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป
ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุมาก ผมขาว หน้าตาเหี่ยวย่น การเคลื่อนไหวเชื่องช้า

บทสรุป
จากสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันแนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุในความหมายโดยนัยแล้ว ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4. ส่วน แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุแหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8) พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ) ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปว่าสถิตของผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีและมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากดั้นนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะจัดทำกราฟแสดงอัตราส่วนของผู้สงอายุขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนต่อไป











ข้อเสนอแนะ
1. ผู้สูงอายุควรงดดื่มสุราและบุหรี่
2. ควรพาผู้สูงอายุไปออกกำลังกายบ่อยๆ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารเยอะ
4. บุตรหลานควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ
5. ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
6. ผู้สูงอายุภายในประเทศไทยควรได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป
7. ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพให้มากกว่านี้เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น
8. ควรเรียกร้องสิทธิของตนเอง
9. ควรปฏิบัติตนตามวัยอันควร
10. ผู้ควรสนใจทางธรรมมากกว่าทางโลก


การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
3. พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ)
ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)



แผนภูมิ ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จำแนกตามเพศและเขตที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2550



การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550


2. แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ
แหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่
งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8)

แผนภูมิร้อยละของผู้สูงอายุ จำแนกตามแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิต เพศและเขตที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2550


การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
1.แนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4

9.4
6.8แผนภูมิ ร้อยละของประชากรสูงอายุ พ.ศ. 2537 2545 และ 2550






วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุป

บทสรุป
จากสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันแนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุในความหมายโดยนัยแล้ว ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4. ส่วน แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุแหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8) พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ) ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปว่าสถิตของผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีและมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากดั้นนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะจัดทำกราฟแสดงอัตราส่วนของผู้สงอายุขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ
1. ผู้สูงอายุควรงดดื่มสุราและบุหรี่
2. ควรพาผู้สูงอายุไปออกกำลังกายบ่อยๆ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารเยอะ
4. บุตรหลานควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ
5. ควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
6. ผู้สูงอายุภายในประเทศไทยควรได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป
7. ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพให้มากกว่านี้เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น
8. ควรเรียกร้องสิทธิของตนเอง
9. ควรปฏิบัติตนตามวัยอันควร
10. ผู้ควรสนใจทางธรรมมากกว่าทางโลก

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550

สำนักงานสถิติแห่งชาติ
1.แนวโน้มและสัดส่วนของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ หมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2537 มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ปี 2550 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป็นชายร้อยละ 44.6 และเป็นหญิงร้อยละ 55.4ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี 2548

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
2. แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ
แหล่งรายได้ที่สำคัญหรือแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือบุตร รวมบุตรเลี้ยง/บุตรบุญธรรม (ร้อยละ 52.3) แหล่งรายได้หลักรองลงมาคือจากการทำงานของผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 28.9) จากคู่สมรส (ร้อยละ 6.1) จากเงินบำเหน็จ/บำนาญ (ร้อยละ 4.4) จากดอกเบี้ยที่
งอกเงยขึ้นมาจากเงินที่ผู้สูงอายุเก็บออมไว้/เงินออม/จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 2.9) และจากเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ร้อยละ 2.8)

การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550
สำนักงานสถิติแห่งชาติ

3. พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมากเป็นประจำ)
ร้อยละ 3.0 ของผู้สูงอายุดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ 12.6 สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 1.8 ดื่มทั้งสุราและสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 16.5 เคี้ยวหมากเป็นประจำ ผู้สูงอายุชายมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่าหญิง สัดส่วนของผู้สูงอายุชายที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 5.1 และ ร้อยละ 1.3 ตามลำดับ) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 2.6) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 0.5) สัดส่วนของเพศหญิงที่เคี้ยวหมากเป็นประจำสูงกว่าชาย (ร้อยละ 26.6 และ ร้อยละ3.9) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ดื่มสุราฯ สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฯ สูงกว่าในเขตเทศบาล ดื่มสุราฯ (ร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2.3) สูบบุหรี่ฯ(ร้อยละ 14.5 และ ร้อยละ 7.8) ทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่ฯ (ร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 1.1) เคี้ยวหมากฯ (ร้อยละ 20.5 และ ร้อยละ 6.4)

สถานะการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย

เรื่องสถานะการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2550 สูงถึงประมาณร้อยละ 10.7 ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลประชากรสูงอายุที่เที่ยงตรงและเป็นปัจจุบันในการดำเนินการสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เร่งดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดจะทำการสำรวจในปี 2551 ได้เลื่อนขึ้นมาทำการ
สำรวจในปี 2550 เพื่อจะนำผลการสำรวจไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 –2564)นับเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ถูกนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การยกระดับ
ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยให้ดีขึ้น และส่งผลดีถึงสังคมไทยโดยรวมต่อไป
จากผลการสำรวจประชากรสูงอายุที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจครั้งล่าสุดปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 ในขณะที่ดัชนีผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนเกือบจะเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรวัยเด็กในปี 2550 นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลงเหลือ 6.3 ในปี 2550 ยังพบอีกว่า
ผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 7.7
ในปี 2550 จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้สังคมไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และ
การที่ประเทศไทยมีอัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ดัชนีผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการที่อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาวะเช่นนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้กล่าวคือผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานจะต้องรับภาระในการเลี้ยงดูและดูแลผู้สูงอายุเพิ่ม
มากขึ้น จะมีผู้สูงอายุที่ถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น หากทุกภาคส่วนไม่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์นี้อย่างจริงจัง
ผู้สูงอายุคือบุคคลที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ ชูศักดิ์ เวชแพทย์ (2531 : 27) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตะวันออก (2543 : 8) ได้เสนอข้อมูล ขององค์การอนามัยโลก โดย อัลเฟรด เจ คาห์น (Professor Dr. Alfred J. Kahn) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีการแบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุที่เหมือนกัน คือ
1. ผู้สูงอายุ (Elderly) มีอายุระหว่าง 60 – 74 ปี
2. คนชรา (old) มีอายุระหว่าง 75 – 90 ปี
3. คนชรามาก (Very old) มีอายุ 90 ปีขึ้นไป
ยูริค และคนอื่นๆ (Yuriek and others . 1980 : 31) เสนอการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ตามสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Institute of Aging) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น (Young - Old) มีอายุ 60 – 74 ปี
2. กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย (Old - Old) มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก ( 2543 : 8)ได้เสนอข้อมูลการแบ่งช่วงอายุผู้สูงอายุของประเทศไทย ดังนี้
1. อายุตั้งแต่ 60–69 ปี
2. อายุตั้งแต่ 70–79 ปี
3. อายุ 80 ปีขึ้นไป
จากข้อมูลการจัดเกณฑ์ช่วงอายุของผู้สูงอายุที่นักวิชาการ องค์การ หน่วยงาน กำหนดไว้นั้น สรุปได้ว่าการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยกำหนดใช้การแบ่งช่วงอายุแบบของประเทศไทย ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 60 – 69 ปี
การเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงวัยในผู้สูงอายุ ได้มีผู้ศึกษาและอธิบายถึงสภาพของการเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของร่างกาย ทั้งนี้ วันเพ็ญ วงศ์จันทรา (2539 : 10) ได้เสนอสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลง 3 ประการใหญ่ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จำแนกออกตามระบบของร่างกายได้ ดังนี้
1.1 ระบบผิวหนัง ผิวหนังบางลง เพราะเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลง อัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง
1.2 ระบบประสาทและระบบสัมผัส เซลล์สมอง และเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวนและขนาดเส้นใยของเซลล์กล้ามเนื้อลดลง มีเนื้อเยื่อพังพืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น
1.3 ระบบการไหลเวียนโลหิต หลอดลม ปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง
1.4 ระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง เคลือบฟันเริ่มบางลง เซลล์สร้างฟันลดลง ฟันผุง่ายขึ้น ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีฟันเหลือต้องใส่ฟันปลอม ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย
1.5 ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ผู้สูงอายุมีขนาดของไตลดลง
การไหลเวียนโลหิตในไตลดลง ในเพศชาย ต่อมลูกหมากโตขึ้น ทำให้ปัสสาวะลำบาก ต้องถ่ายบ่อยลูกอัณฑะเหี่ยวเล็กลง และผลิตเชื้ออสุจิได้น้อยลง ส่วนในเพศหญิง รังไข่จะฝ่อเล็กลง ปีกมดลูกเหี่ยว มดลูกมีขนาดเล็กลง
1.6 ระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และทำงาน
ลดลง ผู้สูงอายุจะเกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว และการหยุดจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องประสบ ภาระหน้าที่ และบทบาทของผู้สูงอายุจะลดลง มีข้อจำกัดทางร่างกาย ทำให้ความคล่องตัวในการคิด การกระทำ การสื่อสาร สัมพันธภาพทางสังคมมีขอบเขตจำกัด ความห่างเหินจากสังคมมีมากขึ้น ความมีเหตุผล และการคิดเป็นไปในทางลบเพราะ สังคมมักจะประเมินว่า ความสามารถในการปฏิบัติลดลง ถึงแม้ว่าจะมีผู้สูงอายุบางคนแสดงให้เห็นว่า ความมีอายุ มิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินบทบาท และหน้าที่ทางสังคมก็ตาม
กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2541 : 37-38) ได้นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงวัยของผู้สูงอายุ ดังนี้
1. ด้านร่างกาย เซลล์ในร่างกายมนุษย์มีการเจริญและเสื่อมโทรมตลอดเวลา โดยในผู้สูงอายุมีอัตราการเสื่อมโทรมมากกว่าการเจริญ ทั้งนี้ การเสื่อมโทรมทางจิตจะทำให้มีความรู้สึกว่าโดดเดี่ยว อ้างว้าง
2. ระบบหายใจ เสื่อมสภาพลงเพราะ อวัยวะในการหายใจเข้า-ออกลดความสามารถในการขยายตัว ปอดเสียความยืดหยุ่น ถุงลมแลกเปลี่ยนแก๊สลดน้อยลง ปอดรับออกซิเจนได้น้อยลง
3. ระบบการไหลเวียนเลือด หัวใจ หลอดเลือด มีเนื้อเยื่ออื่นมาแทรกมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม มีปริมาณสูบฉีดลดลง หลอดเลือดแข็งตัว และ แรงดันเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดปริมาณ
4. สติปัญญาของผู้สูงอายุ สติปัญญาเริ่มเสื่อมถอย เชื่องช้า ต้องใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ทบทวนนานกว่าจะตัดสินใจได้ การตอบโต้ทางความคิดไม่ฉับพลันทันที แต่มีเหตุผล และประสบการณ์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดและตัดสินใจ แต่บางครั้งไม่กล้าตัดสินใจอะไร
5. การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆหรือเทคโนโลยีใหม่ของผู้สูงอายุเป็นไปได้ช้า ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าที่จะรู้ ปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำได้ แต่การเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม และความรู้เดิมที่มีอยู่จะสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว
6. พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
6.1 ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไรทำ อยู่ว่าง ๆ จะรำคาญ และคิดฟุ้งซ่านหรืออาจจะบ่นพึมพำ
6.2 บางช่วงจะหลง ๆ ลืม ๆ
6.3 สายตาไม่ดี อ่านหนังสือที่มีขนาดอักษรตัวเล็กเกินไม่ได้และอ่านได้ไม่นาน
6.4 ชอบอ่าน ฟัง ดูข่าว ความก้าวหน้าและความเป็นไปของบ้านเมืองมากกว่าบันเทิง หรือตำราวิชาการ
6.5 มีช่วงเวลาของความสนใจยาวนาน และมีสมาธิดี ถ้ามีความตั้งใจจะทำสิ่งใด
จากข้อมูลที่ศึกษา การเปลี่ยนแปลงวัยสูงอายุข้างต้น สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลง
วัยสูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุของผู้สูงอายุ ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทหน้าที่ และสัมพันธ์ภาพทางสังคมลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเกิดภาวะสุขภาพที่เจ็บป่วยของผู้สูงอายุ หากไม่มีวิธีป้องกัน และการจัดการภาวะสุขภาพที่เหมาะสม
ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
ภาวะสุขภาพสูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ทางชีวภาพ และทางสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป เมื่อสมาชิกของสังคมมีอายุมากขึ้น (สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. 2539 : 7)
ประเวศ วะสี (2543 : 4) ให้ความหมายของภาวะสุขภาพผู้สูงอายุว่า เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย หมายถึง ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่พิการ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัย ที่จำเป็นพอเพียง ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ คำว่า กาย ในที่นี้หมายถึง ทางภายภาพด้วย 2. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิต หมายถึง จิตใจที่มีความสุข รื่นเริง คล่องแคล่ว มีความเมตตาสัมผัสกับความงามของสรรพสิ่ง มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รวมถึงการลดความเห็นแก่ตัวลงไปด้วย เพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นแก่ตัว ก็จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตไม่ได้ 3. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรมเสมอภาค มีภราดรภาพ มีสันติภาพ มีระบบการบริการ ที่ดี มีความเป็นประชาสังคม 3. สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ (Spirtual well-being) หมายถึง สุขภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อทำความดีหรือจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่งหรือสิ่งสูงสุด เช่น การเสียสละ การมีความเมตตา การเข้าถึงพระรัตนตรัยหรือการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น ความสุขทางจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ไม่ระคนอยู่กับความเห็นแก่ตัว แต่เป็นสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากความมีตัวตน (Self transcending) จึงมีอิสรภาพ มีความผ่อนคลาย เบาสบาย มีความปิติแผ่ซ่าน มีความสุขอันประณีตและล้ำลึกหรือความสุขอันเป็นทิพย์ มีผลดีต่อสุขภาพทางกาย ทางจิต และทางสังคม
ภาวะสุขภาพของบุคคลประกอบด้วย ภาวะที่มีสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วยสนับสนุนหรือต่อเนื่องกันไป และเป็นประสบการณ์ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับรู้ของบุคคลต่อภาวะสุขภาพนั้น จะดำเนินไปตามแกนความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วย แต่การรับรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลคือ บางคนรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งผิดปกติเล็กน้อยและไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลเหล่านี้ความเจ็บป่วย จึงเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการพัฒนา และการเจริญเติบโต ขณะที่บางคนมีการรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รบกวน และคุกคามต่อชีวิตอย่างมาก ทำให้สูญเสียความเป็นบุคคล ผลที่ตามมาคือ ความกลัว ความท้อแท้ การรับรู้ต่อภาวะสุขภาพของบุคคลที่แตกต่างกันนี้ มีอิทธิพลต่อกำลังใจในการต่อสู้ปัญหาที่เข้ามารบกวนชีวิตแตกต่างกันด้วย
ภาวะสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะพัฒนาการ โดยผู้สูงอายุจะประสบกับปัญหาสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้สูงอายุมีความรู้สึกสูญเสียอำนาจบทบาท และสถานะทางสังคม มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของร่างกาย นิยามสุขภาพจึงอาจเปลี่ยนไปตามปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ทั้งนี้ วิไลวรรณ ทองเจริญ (2539 : 119-122) กล่าวว่า ภาวะสุขภาพดีของผู้สูงอายุ หมายถึง การมีอิสระในการปฏิบัติกิจกรรมตามความต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจึงประกอบด้วย การมีกำลังทำในสิ่งที่ต้องการ พึ่งพาตนเองได้ในกิจวัตรประจำวัน และมองโลกในแง่ดี สามารถเผชิญกับความเป็นจริง และยอมรับในสิ่งที่ไม่สามารถกำจัดหรือแก้ไขได้ (ประคอง อินทรสมบัติ. 2539 :2-3)
กล่าวโดยสรุปว่า ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ หมายถึง สุขภาวะที่เป็นความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางเสื่อมของผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานของร่างกายเสื่อมถอยไปด้วย เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีปัญหากับสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ดังที่ สเปค (Speake. 1989 : 93 –100) ได้กล่าวว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 จะต้องมีปัญหาทางสุขภาพอย่างน้อย 1 อย่าง จากการศึกษาของ นภาพร ชโยวรรณ มาลินี วงษ์สิทธิ์ และ จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย (2532 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผู้สูงอายุทั่วประเทศ จำนวน 3,252 คนโดยให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพของตนเองพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพไม่ดีถึงร้อยละ 41 และโรคที่พบบ่อยเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะของการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนัก นอกจากนั้น สมหมาย ยาสมุทร และดาริณี สุวรรณรังสี (2532 : 71-79) ได้รวบรวมสถิติข้อมูลทั่วไป และโรคผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลลำปาง ในปีงบประมาณ 2524-2526 พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเป็นโรคข้อ กระดูก กล้ามเนื้ออักเสบ และปวดหลัง ทำให้ผู้สูงอายุขาดความกระฉับกระเฉง และความสามารถในการทำงานลดลง มีผลให้กิจกรรมที่เคยทำลดน้อยลงไปด้วย จากการที่ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุลดลง บลูเทอร์ (Bulter. 1987 : 23-28) กล่าวถึง แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน (Activity of Daily Living) ว่า ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ ด้านหน้าที่ของร่างกายอย่างกว้างขวาง เพราะ หากผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ด้วยตนเอง จะมีความรู้สึกว่ามีสุขภาพดี และสิ่งชี้วัดเบื้องต้นของ ภาวะสุขภาพความผาสุกในผู้สูงอายุ คือ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ถือเป็นบริการสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับคนชราอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แม้จะดูเหมือนไม่มีบทบาทสักเท่าไหร่ในหลายยุคที่ผ่านมา แต่เวลานี้ได้ถูกชุบให้กระชุ่มกระชวยขึ้นอีกครั้งด้วยแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่แจกจ่ายนโยบายประชานิยมอย่างทั่วถึง ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ โดยแต่เดิมนั้นจะจ่ายให้เฉพาะผู้ที่มีฐานะยากไร้ รายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง
จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในสังคมไทยผู้จัดทำจึงเล็งเห็นปัญหาของผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ แหล่งรายได้ผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้นเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะจัดทำกราฟแสดงสัดส่วนของผู้สูงอายุเพื่อให้ทราบสถิติของผู้สูงอายุและเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

นิยามศัพท์
ผู้สูงอายุ คือ คนที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป
ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุมาก ผมขาว หน้าตาเหี่ยวย่น การเคลื่อนไหวเชื่องช้า

สถานะการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย

เรื่องสถานะการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2550 สูงถึงประมาณร้อยละ 10.7 ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลประชากรสูงอายุที่เที่ยงตรงและเป็นปัจจุบันในการดำเนินการสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เร่งดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดจะทำการสำรวจในปี 2551 ได้เลื่อนขึ้นมาทำการ
สำรวจในปี 2550 เพื่อจะนำผลการสำรวจไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 –2564)นับเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ถูกนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การยกระดับ
ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุไทยให้ดีขึ้น และส่งผลดีถึงสังคมไทยโดยรวมต่อไป